วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำฝาสานจากไม่ไผ่

               การสานฝาไม้ไผ่ได้เริ่มต้นครั้งแรกที่หมู่ที่ 8 บ้านค่ายรวมมิตร ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล โดยการแนะนำของ นายอุโมก กาญจนวานิช เจ้าของลำปำรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้มาแนะนำครอบครัว นายอนันต์ คุ้มกัน โดยให้นายอนันต์ คุ้มกัน ถอดลายลูกแก้วจากย่านลิเภาเพื่อทำเป็นฝาสาน และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคใต้ได้มาแนะนำวิธีการผ่าไม้ไผ่เพื่อประหยัดเวลาและให้ตอกมีขนาดเท่ากัน โดยได้นำเอารูปแบบของที่กรองขยะจากท่อประปานำมาย่อขนาดให้เล็กลงเพื่อให้เหมาะสมกับขนาดของไม้ไผ่ เครื่องมือที่ใช้ผ่าไม้ไผ่มีลักษณะคล้ายดอกจำปา จึงได้เรียกชื่อว่าจำปา ไม้ไผ่ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน
วิธีการทำฝาสานไม้ไผ่
                ไผ่พืชที่มีมากในท้องถิ่น ต้นของไผ่สามารถนำมาสานเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ โดยเฉพาะไม่ไผ่มัน ไผ่บาง สามารถนำมาสานเป็นฝา เพื่อใช้ทำเป็นที่อยู่อาศัยและสามารถจำหน่ายเพื่อยึดเป็นอาชีพต่อไปได้
1.  เริ่มจากการคัดเลือกหรือเตรียมไม้ไผ่ในลักษณะที่สมบูรณ์ ลักษณะของลำไผ่ไม่คดงอ
ลำไม้ไผ่โตขนาดตามต้องการ
2.  การผ่าตอกไม้ไผ่ ต้องคัดเลือกไม้ไผ่ให้เหมาะสมกับจำปา จะต้องจัดให้ซี่ที่ผ่าออกมาแต่ละซี่มีขนาด
ที่เท่ากันและต้องผ่าจากโคนของไม้ไผ่ ขั้นตอนการผ่าตอกมีขนาดของตอกที่เท่ากัน เมื่อนำมาสาน
เป็นฝาจะได้ผลงานที่ดี มีคุณภาพ
3.  ไม้ไผ่ที่ได้นำมาเหลาให้เรียบร้อย แล้วจึงนำมาสานลายต่าง ๆ เช่น ลายหนึ่ง ลายสอง
ลายลูกแก้ว ฯลฯ ลายลูกแก้วเป็นลายที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ โดยการทำทักษะในการสาน
ลายแม่บทมาดัดแปลง เพื่อให้เกิดลายได้ตามที่ต้องการ
       
          การทำอาชีพสานฝาจากไม้ไผ่คำนึงเรื่องการใช้วัสดุทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และการอนุรักษ์โดยการปลูกทดแทน สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี การสานฝาเป็นงานที่กำเนิดขึ้นที่บ้านค่ายรวมมิตร โดยเฉพาะลายลูกแก้ว ส่งเสริมให้คนมีรายได้จากอาชีพและสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สิ่งที่ทำให้มีความภาคภูมิใจ คือ ได้รับคัดเลือกเป็นหมู่บ้าน OTOP หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงหัตถกรรมหนึ่งใน 80 หมู่บ้านทั่วประเทศ
เจ้าของผลงาน  นายเพียร  คุ้มกัน
สถานที่ติดต่อ  39  หมู่ 88  ตำบลทุ่งนุ้ย  อำเภอควนกาหลง  จังหวัดสตูล  โทรศัพท์ 0-7479-1116
ที่มา :        สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร "นวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน", 2552.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น